การออกแบบแม่พิมพ์ คือ การวางแผนทางวิ่งของโลหะว่าจะให้โลหะวิ่งผ่าน Cavity อย่างไร โดยควรเริ่มจากการออกแบบเกท รันเนอร์ สปรู หัวฉีด (nozzle) ตามลำดับ และมีหลักในการออกแบบ ดังนี้
1. พื้นที่หน้าตัดทางวิ่งน้ำโลหะต้องลดหลั่นลงตามลำดับ จาก nozzle จนถึงเกท
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/1.jpg)
2. ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนพื้นที่หน้าตัดอย่างกะทันหัน (ทั้งเล็กไปใหญ่ และใหญ่ไปเล็ก) เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศ
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/2.jpg)
3. ทุกส่วนของทุก Cavity ในแม่พิมพ์ ควรให้โลหะวิ่งเข้าเต็มในขณะเดียวกัน
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/3.jpg)
4. พื้นที่หน้าตัดเกทต้องใหญ่เพียงพอที่จะป้อนน้ำสังกะสีเข้าแม่พิมพ์ โดยสามารถคำนวณได้ ดังนี้
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/4(1).jpg)
เมื่อ Agate คือ พื้นที่หน้าตัดเกท มีหน่วยเป็นตารางมิลลิเมตร (mm2 )
Vgate คือ ความเร็วน้ำสังกะสีที่เกท (ควรอยู่ในช่วง 40-50 m/s), ถ้า Vgate<30 m="m" s="s" vgate="vgate">60 m/s อาจทำให้แม่พิมพ์สึกได้30>
r คือ ความหนาแน่นของสังกะสีผสมขณะหลอมเหลว... เท่ากับ 6.12 kg/m3 สำหรับสังกะสีผสมเบอร์ 3
W คือ น้ำหนักของชิ้นงาน (รวม Overflow) 1 ชิ้น มีหน่วยป็น กรัม (g)
t คือ เวลาในการฉีดน้ำสังกะสีเข้าแม่พิมพ์... ควรอยู่ในช่วง 10-20 มิลลิวินาที (ms), สำหรับชิ้นงานที่ต้องนำไปทำผิวต่อ ควรใช้ t < 10 ms หากต้องการให้ชิ้นงานมีคุณสมบัติทางกลที่ดี ควรใช้ t < 20 ms หากใช้ t > 40 ms จะทำให้ชิ้นงานมีคุณสมบัติทางกลที่ไม่ดี
เมื่อได้พื้นที่หน้าตัดเกทแล้ว หาความยาวเกทได้จาก
ความยาวเกท = พื้นที่หน้าตัดเกท / ความหนาเกท
โดยควรเลือกใช้ความหนาเกทอยู่ในช่วง 0.25 – 0.75 มิลลิเมตร ถ้าความหนาเกท < 0.25 mm. อาจทำให้น้ำสังกะสีแข็งตัวที่เกท ถ้าความหนาเกท > 0.75 mm. อาจทำให้เกิดตามดที่เกท
การออกแบบเกท
ในการออกแบบเกทต้องคำนึงถึง...
1. ตำแหน่งของเกท เพราะมีผลต่อรูปแบบและระยะการไหลของน้ำสังกะสี แบ่งออกเป็น Center gate คือเข้าตรงกลางชิ้นงาน และ Side gate คือ เข้าที่ขอบของชิ้นงาน ถ้าหากมีการเปิดเกทเข้าชิ้นงานตั้งแต่ 2. เกทขึ้นไปควรใช้ center gate
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/5.jpg)
2. ขนาดของเกท ซึ่งสามารถทำการคำนวณได้ดังวิธีที่ได้กล่าวมาแล้ว
3. รูปแบบของเกท แบ่งออกเป็น เกทแบบพัด (Fan gate) และ Tangential gate
- เกทแบบพัด (fan gate) เหมาะสำหรับเกทที่สั้นแต่หนา ให้มุมของการไหลแคบๆ (มากสุด 45o ที่ปลายเกท, ถ้ามากกว่า 45o อาจทำให้เกิดการกักฟองอากาศ)
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/6.jpg)
- Tangential gate เหมาะสำหรับเกทที่ยาว (อาจยาวได้ถึง 500 มิลลิเมตร) และบาง ให้มุมของการไหลกว้าง นอกจากนี้ควรมีตัวกันกระแทก (shock absorber) เพื่อกันแม่พิมพ์สึก และช่วยกักอากาศ
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/7.jpg)
Tangential gate ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ Half delta, Tapered runner และ ตัวกันกระแทก (shock absorber)
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/8.jpg)
รูปร่างของ Tapered runner ควรเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู แต่อาจอนุโลมให้เป็นสามเหลี่ยมได้ในกรณีที่เป็น Tangential gate ที่เล็กๆ เพราะขึ้นรูปแม่พิมพ์ได้ง่ายกว่า
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/9.jpg)
Tapered runner สามเหลี่ยม
Delta อาจมีความโค้งเป็นรัศมีวงกลม หรือวงรีก็ได้ และควรมีความยาวประมาณ 25 – 30% ของความยาวเกท และมีความหนาประมาณ 1.5 – 2 เท่าของความหนาเกท
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/10.jpg)
ถ้าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ ejector pin ใหญ่ ตัวกันกระแทกควรอยู่ในแม่พิมพ์ครึ่งที่เคลื่อนที่ (moving die half) แต่ถ้าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ ejector pin เล็ก ตัวกันกระแทกอาจอยู่ในแม่พิมพ์ครึ่งที่เคลื่อนที่หรือครึ่งที่อยู่กับที่ (fixed die half) ก็ได้
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/11.jpg)
การออกแบบรันเนอร์
หลักในการออกแบบรันเนอร์มีดังนี้
1. ควรออกแบบให้พื้นที่หน้าตัดรันเนอร์มากกว่าพื้นที่หน้าตัดเกท 8 – 19%
2. ทางวิ่งไม่ควรหักมุมเป็นมุมฉาก
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/12.jpg)
3. ระยะที่โลหะวิ่งเข้า Cavity ควรให้สั้นที่สุด (โดยเฉพาะชิ้นงานที่บาง)
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/13.jpg)
4. เพื่อไม่ให้อุณหภูมิน้ำสังกะสีลดลงมากเกิน ควรออกแบบรันเนอร์ให้สั้นที่สุด ถ้ารันเนอร์ยาว อาจแก้โดยออกแบบให้ความยาวด้านสั้นของคู่ขนานเท่ากับความหนา เพราะจะช่วยให้รักษาอุณหภูมิได้ดี นอกจากนี้ยังขึ้นรูปและดีดออกได้ง่าย
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/14.jpg)
5. ถ้าแม่พิมพ์มีหลายรันเนอร์ ควรออกแบบให้ความยาวด้านสั้นของคู่ขนานยาวเป็น 2 เท่าของความหนา เพราะจะช่วยให้สามารถเชื่อมต่อรันเนอร์ได้ดี และสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่าแบบที่ aspect ratio 1:1
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/15.jpg)
6. ถ้าระยะวิ่งในแม่พิมพ์ยาวมาก ก็ให้โลหะวิ่งใน Runner จนใกล้ Cavity ที่สุด แล้วจึงเปิด Gate เข้า Cavity
7. ถ้าทางวิ่งมีมากกว่า 1 ควรให้ทางวิ่งเหล่านี้วิ่งขนานกัน หรือวิ่งออกจากกัน
การออกแบบสปรู
สปรู ถือว่าเป็นส่วนแรกของระบบทางวิ่ง ช่วยทำให้การไหลของน้ำสังกะสีจากหัวฉีด (nozzle) ไปยังรันเนอร์ได้อย่างราบรื่น ซึ่งมีหลักในการออกดังนี้
1. ควรออกแบบให้พื้นที่หน้าตัดสปรูมากกว่าพื้นที่หน้าตัดรันเนอร์ 8 – 19%
2. ทางวิ่งสปรูไม่ควรหักมุมเป็นมุมฉาก
3. มีการควบคุมพื้นที่หน้าตัดสปรูให้คงที่หรือลดลง จากด้านที่ติดหัวฉีดมาด้านที่ติดรันเนอร์
4. รูปแบบของสปรูมี 3 แบบคือ Cone sprue, Pencil sprue และ Runner sprue
![](http://www.coezinc.com/template/lib_images/lazy.gif)
- Cone sprue มีการหักมุมของทางวิ่งสปรู และมีการเพิ่มของพื้นที่หน้าตัด ทำให้การไหลไม่ราบเรียบ
- Pencil sprue มีการเพิ่มของพื้นที่หน้าตัด ทำให้การไหลไม่ราบเรียบ, เย็นตัวยาก และหัวฉีดมักจะเล็ก ทำให้เกิดการอุดตัน
- Runner sprue พื้นที่หน้าตัดลดหลั่นลงจากด้านที่ติดหัวฉีดมาด้านที่ติดรันเนอร์ ทำให้การไหลดี และเย็นตัวได้เร็ว
Runner sprue แบบทางวิ่ง 1 ทาง: เหมาะสำหรับสปรูที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ เพราะสามารถเย็นตัวได้เร็ว โดยไม่ต้องมีการหล่อเย็นที่ปลอกสปรู ทำให้การควบคุมความร้อนดี ไม่เกิดการเย็นตัวเร็วเกินไปในส่วนของแม่พิมพ์ครึ่งที่อยู่กับที่
Runner sprue แบบทางวิ่ง 2 ทาง (double runner sprue): เหมาะสำหรับฉีดชิ้นงานแยกออกไป 2 ด้านทำมุม 180o พื้นที่หน้าตัด double runner sprue แบบทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ถ้าหากมีข้อจำกัดด้านพื้นที่อาจมีรูปร่างโค้งตามส่วนของปลอกสปรูโดยที่ด้านในเรียบก็ได้
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/20.jpg)
ในบางครั้ง Double runner sprue อาจติดแม่พิมพ์ในแม่พิมพ์ครึ่งที่อยู่กับที่ การใช้ piston ejector หรือ hook ejector จะช่วยให้ดึงออกง่ายขึ้น
การป้องกับการบิดงอของชิ้นงานระหว่างการขนส่งชิ้นงาน หรือระหว่างการหักรันเนอร์ อาจทำเป็นวงแหวนยึดที่สปรู หรือทำเป็นปลอกสปรูบางๆ หนาประมาณ 0.35 มิลลิเมตร
![](http://www.coezinc.com/images/column_1301886382/21.jpg)
การออกแบบหัวฉีด (Nozzle)
หัวฉีดจะมีพื้นที่หน้าตัดเป็นวงกลม โดยควรมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับหรือมากกว่าพื้นที่หน้าตัดสปรู
การออกแบบรูล้น (Overflow)
หน้าที่ของรูล้น มีดังนี้
1. กักอากาศที่ถูกไล่มาจาก cavity
2. เก็บสังกะสีที่เย็นและถูกออกซิไดซ์จากสังกะสีระลอกแรกที่เข้ามาใน cavity
3. ให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ ช่วยให้อุณหภูมิแม่พิมพ์คงที่
4. เป็นจุดรับการกระแทกของ ejector pin
หลักในการออกแบบรูล้น มีดังนี้
1. น้ำหนักของรูล้น ไม่ควรเกิน 10% ของน้ำหนักชิ้นงาน
2. ความหนาเกทของ overflow ควรอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.35 มิลลิเมตร
3. ตำแหน่งของ overflow ควรอยู่ที่ปลายสุดของชิ้นงาน โดยอยู่ตรงข้ามเกท
การออกแบบรูระบายอากาศ (Vent)
ในกระบวนการฉีดสังกะสี ถึงแม้จะทำการออกแบบแม่พิมพ์ตามที่แนะนำมาแล้วข้างต้น ก็ยังคงมีอากาศประมาณ 30% ยังคงค้างอยู่ใน cavity ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามด ผิวพอง ผิวลาย และอื่นๆ ตามมา การมีรูระบายอากาศก็เพื่อลดปริมาณอากาศที่ถูกกักอยู่ใน cavity โดยหลักในการออกแบบรูระบายอากาศมีดังนี้
1. ตำแหน่งของรูระบายอากาศ ควรอยู่ที่ระนาบแม่พิมพ์ และอยู่ที่ปลายสุดของการไหล หรือจุดที่การไหล 2 ทางมาบรรจบกัน
2. ควรออกแบบรูระบายอากาศ ให้มีรูปร่างซิกแซก เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องครีบ
3. รูระบายอากาศควรหนาประมาณ 0.05 – 0.12 มิลลิเมตร และกว้าง 8 – 25 มิลลิเมตร
4. โดยทั่วไป พื้นที่หน้าตัดของรูระบายอากาศ = 50 – 100% ของพื้นที่หน้าตัดเกท
5. ในกรณีที่ต้องการให้มีพื้นที่หน้าตัดรูระบายอากาศมาก ควรเพิ่มจำนวนหรือความกว้าง แทนที่จะเพิ่มความหนา
Credit : www.coezic.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น