ปัญหาของรอยยุบบนผิวชิ้นงานนั้นเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน
1.การออกแบบชิ้นงาน
ในการออกแบบความหนาของชิ้งานต้องคำนึงถึงความหนาของ Ribs และ Bosses ที่เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องพิจราณา โดยให้ความหนาของผนังต้องไม่น้อยกว่า (ความหนาผนัง = 1.5 x ความหนา Ribs) หรือ ( ความหนาRibs = 0.7 x ความหนาผนังชิ้นงาน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh7NZsQO9wCXhJYO60Sisu8-986VKjask5jej6FM80AMv-R_X_Qg2gMkc59cxw_MbYvS3E8Y6fAGE0JPJQZq7UY4IVihfenPE0qaPTvr3rdR2P9I3gw5nO_b6XU6K7FF6ebyWOrQUxw6NpV/s320/ribb.jpg)
2. การออกแบบแม่พิมพ์
ในการออกแบบแม่พิมพ์ที่จะทำให้โอกาศเกิด Sink Marks น้อยลงต้องคำนึงถีงขนาดของ Gate และ ช่องระบายอากาศต้องไม่เป็นอุปสรรคทำให้การไหลของพลาสติกลดลง , ออกแบบให้ Sprue bushing สั้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้และเพิ่มขนาดของรูขึ้น จะช่วยการไหลของพลาสติกได้ดี
3.การปรับฉีด
ต้องแน่ใจว่า Mold ไม่ร้อนจนเกินไปเพราะจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด Sink Marks เพิ่ม Cooling time เพื่อให้ชิ้นงานเย็นตัวในแม่พิมพ์ และปรับน้ำหนักชิ้นงานให้เหมาะสม ถ้าทำตามคำแนะนำแล้วยังดีไม่พอให้ปรับลด Speed การฉีดและเพิ่ม Pressure
เพิ่ม Packing Pressure และ เวลา
Post by webblog master